
เด็กในแต่ละช่วงวัยนั้นย่อมมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไปซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการที่คุณพ่อและคุณแม่จะใส่ใจ ในแต่ละช่วงวัยของลูกน้อย เพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและสามารถที่จะกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้อย่างถูกต้อง เรามาดูกันดีกว่าว่า พัฒนาการในแต่ละช่วงวัยของลูกน้อยนั้นมีอะไรกันบ้าง
พัฒนาการในช่วงวัยทารกที่คุณแม่ควรรู้
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 1 สัปดาห์
บริเวณที่มีไขบนร่างกายของลูกจะเริ่มหลุด มีการตอบสนองสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติในช่วง 2 – 3 วัน แรกคลอดนั้นอาจจะหลับต้องมีการปลุกมาเพื่อกินนมแต่ภายหลังหนึ่งสัปดาห์จะมีการร้องเรียกเพื่อกินนมเองตามเวลาที่เคยได้กิน ราวๆ 2 – 3 ชั่วโมง / ครั้ง
พัฒนาการของลูกน้อยในวัย 1 เดือน
ลูกจะมีการขับถ่ายน้อยลงมีการดูดซึมมากขึ้น มีการปัสสาวะวันละ 10 – 15 ครั้ง และขับถ่าย วันละ 3 – 4 ครั้ง สามารถเริ่มพลิกตัวให้เข้ากับการอุ้มของพ่อแม่ได้
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 2 เดือน
ลูกจะมีการขับถ่ายน้อยลงวันละ 1 – 2 ครั้ง และปัสสาวะวันละ 10 – 12 ครั้ง ลูกอาจจะมีการนำมือเข้าปาก มองไปรอบๆ คว้าจับสิ่งของบ้างเป็นครั้งคราวแต่ไม่สามารถจับได้นาน
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 3 เดือน
ลูกน้อยจะเริ่มมีการคว่ำตัวเอง มีพัฒนาการด้านการฟังที่ดีขึ้น สามารถแยกเสียงพูดและเสียงรอบตัวได้รวมถึงยังสามารถที่จะ ตอบโต้เป็นภาษาอ้อแอ้ กับคุณพ่อและคุณแม่ได้
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 4 เดือน
ลูกจะต้องการนอนคว่ำและพยายามยกคอมากขึ้น ปัสสาวะวันละ 8 – 10 ครั้ง ขับถ่ายวันละ 1 – 3 ครั้ง เริ่มมีการมองเห็นสีมากขึ้นจากภาพขาวดำ จำหน้าคนในครอบครัวได้ และเริ่มอยากพูด
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 5 เดือน
ลูกจะเริ่มชอบการจับขยำของ การกำของ การอมนิ้วมือหรือเท้า พลิกคว่ำพลิกหงายได้มากขึ้นคล่องตัวขึ้น
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 6 เดือน
ลูกจะสามารถพลิกคว่ำ พลิกหงายได้อย่างคล่องตัว ตั้งคอแข็งได้ รู้ชื่อของตนเอง สามารถจับนั่งได้นานขึ้น
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 7 เดือน
ลูกเริ่มมีพัฒนาการที่จะนั่งได้ด้วยตนเอง เริ่มคลานได้ ชอบการเล่นของเล่นสีสันดึงดูดใจ พยายามที่จะเลียนแบบเสียงต่างๆ ของพ่อแม่
พัฒนาการของลูกน้อยในวัย 8 เดือน
ลูกเริ่มมีการพูดมากขึ้น อาจจะยังไม่เป็นคำหรืออาจจะได้คำง่ายๆ เช่น แม่ หรือ หม่ำๆ อยากที่จะยืน
พัฒนาการของลูกน้อยในวัย 9 เดือน
ลูกจะมีการตั้งไข่ พยายามยืนและเกาะขอบต่างๆ เพื่อพยุงตัวเองในการยืน
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 10 เดือน
ลูกสามารถที่จะนั่งเองได้จากท่ายืน และรู้จักคำมากขึ้นจากการแสดงออกทางท่าทางของคนในครอบครัวหรือคนรอบตัว
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 11 เดือน
ลูกชอบที่จะพูดเป็นคำแต่ไม่ชัดนัก มักมีการทดสอบ คุณพ่อคุณแม่ในการห้ามว่าหากเขาลองทำแบบนี้แล้วคุณพ่อและคุณแม่หรือคนในครอบครัวจะมีปฏิกิริยาอย่างไร
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 12 เดือน
ความจำดี พูดได้มากขึ้น มีการเลียนแบบท่าทาง ยืนและนั่งเองได้มากขึ้น
ทั้งนี้ในส่วนของน้ำหนักส่วนสูง ตามช่วงวัย อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปตามกรรมพันธุกรรมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปพบคุณหมอกุมารเวช เพื่อรับวัคซีนตามวัย และติดตามเกณฑ์ของน้ำหนักส่วนสูงรวมไปถึง เฝ้าดูพัฒนาการที่เหมาะสมในแต่ละวัยได้ ในเด็กบางคนนั้นอาจจะมีการตั้งไข่เลยโดยที่ไม่เริ่มจากการนั่งก่อนหรือพูดได้หลายคำก่อนที่จะยืนหรือเดินได้ แตกต่างกันออกไป โดยคุณหมอจะคอยแนะนำและให้คำปรึกษาในเรื่องของพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของลูกน้อยในด้านต่างๆ