
พัฒนาการเรื่องการพูดของลูกนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ปัญหาลูกน้อยพูดช้าเกิดได้ในหลายสาเหตุ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ในปัญหานี้ของลูกน้อย
ปัจจัยและภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้างที่ทำให้ลูกพูดช้า
– ภาวะประสาทหูของพิการ ทำให้มีการบกพร่องในเรื่องของการได้ยิน ทำให้พอได้ยินเบาเกินไปหรือไม่ชัดเจนปัญหาที่ตามมาคือ การรับรู้ในเรื่องของการออกเสียง การฝึกพูดหรือการสื่อสารโดยการพูดนั้นไม่ดีเท่าที่ควรเป็น จึงมีการแสดงออกในการสื่อสารรูปแบบอื่นแทน
– ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสมองหรืออาจจะเป็นภาวะที่สมองนั้นถูกทำลาย คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในสมอง จนกระทั่งไม่สามารถที่จะทำการควบคุมให้เคลื่อนไหวได้หรือเคลื่อนไหวได้ยาก จึงมีผลกับการพูดของลูกน้อย
– ความกลัว เด็กบางคนนั้นอาจจะมีปมฝังใจในเรื่องของการพูด ไม่ว่าจะเป็นการถูกล้อเลียน หัวเราะจากการพูดผิดหรือการถูกดุเมื่อพูด จึงทำให้เกิดแผลใจขึ้น ทำให้กล้าจะพูดเฉพาะกับคนที่พูดด้วยแล้วรู้สึกดีเท่านั้น
– ภาวะออทิสติกเทียมและออทิสติกแท้ โดยปกติแล้วเด็กที่อยู่ในสภาวะออทิสติกนั้นจะมีปัญหาในเรื่องของการสื่อสารเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะจะมีปัญหาในเรื่องของการเข้าสังคมทำให้กระบวนการสื่อสารนั้นค่อนข้างที่จะช้ากว่าเด็กทั่วไป แถมในเรื่องของการทำความเข้าใจนั้นค่อนข้างยากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
– ความขี้อาย เด็กบางคนนั้นสามารถที่จะสื่อสารได้และพูดได้ เพียงแค่มีความเขินอายเกินกว่าที่จะกล้าพูดโต้ตอบ
– มีปัญญาเชาว์ต่ำกว่า 70 เปอร์เซ็นต์หรือที่ใครหลายๆคนนั้นเรียกว่า ปัญญาอ่อนนั้นเอง เด็กที่มีอาการนี้ จะมีพัฒนาการในทุกด้านค่อนข้างช้ารวมถึงสามารถที่จะเข้าใจความหมายในแบบผิดๆได้อีกด้วย
– คุณพ่อและคุณแม่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับลูก มีการสื่อสารน้อยกว่าที่ควร เลี้ยงลูกด้วยโทรทัศน์ โทรศัพท์ แท็บเล็ต ทำให้เมื่อถึงวัยที่ควรพูดแล้วลูกยังไม่สามารถที่จะสื่อสารได้เท่าที่ควร เช่น ในวัยเดียวกันสามารถพูดได้มากกว่าสามคำหรือเป็นประโยคได้แล้ว แต่ลูกของเรานั้นอาจจะพูดได้เพียงคำเดียวหรือไม่สามารถสื่อสารเป็นประโยคได้ อาจจะใช้ภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ เรียกว่าภาษาการ์ตูนหรือภาษาต่างดาว เสี่ยงต่อภาวะออทิสติกเทียมและพัฒนาการที่ช้า สามารถรักษาให้หายได้ในเวลาอันสั้นแต่ควรได้รับการใส่ใจเท่าที่ควร
วิธีและแนวทางการรักษาลูกพูดช้ากว่าเกณฑ์
หากพบว่าลูกนั้นมีการพูดช้าหรือผิดปกติ การเข้ารับวัคซีนตามวัยจะมีการประเมินด้านพัฒนาการของเด็กตามความเหมาะสมด้วย โดยการเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการประเมิน จะทำให้คุณหมอวางแผนทำการฟื้นฟูพัฒนาการหรือวางแนวทางรักษาลูกของเราได้อย่างเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาที่ดีของเด็กนั้นต้องมีคนในครอบครัวเอาใจใส่ดูแลและช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยไปพร้อมกันด้วย การทำกิจกรรมต่างๆในครอบครัว การพูดคุย การสร้างปฏิสัมพันธ์จะมีส่วนช่วยให้ลูกน้อยนั้นมีพัฒนาการทางด้านของการพูดที่ดีขึ้นได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากเป็นวัยที่ต้องมีการเรียนแล้วอาจจะต้องเข้าโรงเรียนเฉพาะ เพื่อที่ลูกจะได้อยู่ในโรงเรียนที่ดูแลในส่วนของเด็กที่มีพัฒนาการช้า ซึ่งจะมีการจัดการในเรื่องของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การดูแลการฟื้นฟูพัฒนาการที่เหมาะสมและเฉพาะทาง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อย่ามองข้ามปัญหาลูกน้อยพูดช้าเป็นอันขาด ควรพาไปพบกุมารแพทย์ทางด้านพัฒนาการอย่างสม่ำเสมอและควรที่จะสื่อสารกับลูกอยู่บ่อยๆ เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว