เมนูอาหารลูกน้อยวัย 4 – 12 เดือน

Baby-food-news-site

ลูกน้อยวัย 4-6 เดือน มีความพร้อมสำหรับรับประทานอาหารเสริมได้บ้างแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกายลูกน้อยด้วย ซึ่งหากคุณแม่ท่านใดยังไม่แน่ใจแนะนำให้ลองปรึกษาคุณหมอดูก่อนว่าน้องสามารถรับอาหารเสริมได้แล้วรึยังจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดอีกทาง การให้อาหารเสริมสำหรับลูกน้อยวัย 4 เดือน ควรเริ่มให้อาหารเสริมที่มีลักษณะกึ่งเหลว ในปริมาณน้อยๆ 2-3 ช้อนโต๊ะก่อน ควรเป็นเมนูเดิมในสัปดาห์แรก  เพื่อสร้างความเคยชินให้กับร่างกายของลูกน้อย คอยสังเกตอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น ค่อยเปลี่ยนเมนูอาหารใหม่ แล้วเพิ่มปริมาณและลักษณะอาหารที่ข้นและหยาบขึ้นได้

new-Baby-food-news-site

เมนูอาหารสำหรับลูกน้อยวัย 4 เดือน

สำหรับการเริ่มต้นให้อาหารลูกน้อยวัย 4 เดือน ค่อยข้างจะสร้างความวิตกกังวลให้คุณแม่เป็นอย่างมากเพราะในบางรายการรับอาหารเสริมที่มากเกิน และไม่ถูกอาจทำให้เด็กแพ้อาหารและไม่ยอมรับอาหารเสริมได้เช่นกัน เมนูแนะนำสำหรับเด็กวัยนี้ จะเป็นข้าวบดกับน้ำแกงจืด ไข่แดงบด ตับบด กล้วยน้ำว้าสุก ทั้งนี้ควรให้ลูกน้อยกินตับอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เพื่อเพิ่มธาตุเหล็ก บำรุงสายตา เสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ดี นอกจากนี้ นมแม่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ยังจะขาดไม่ได้เพราะช่วยในระบบย่อยอาหารของทารกได้ดี ระวังอย่าเพิ่งให้ทารกวัยนี้รับประทานไข่ขาว เพราะโปรตีนในไข่ขาวย่อยยากอาจทำให้ลูกน้อยมีอาการอืดท้องได้

เมนูอาหารสำหรับลูกน้อยวัย 5  เดือน

ลูกน้อยวัย 5 เดือนรับอาหารเสริมอ่อนๆ มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ร่างกายคุ้นชินกับอาหารเสริมบ้างแล้ว แนะนำให้เพิ่มเมนูอาหารจำพวกปลา ผักใบเขียว ฟักทอง แครอท เพื่อเพิ่มวิตามินบำรุง ควบคู่ไปกับ ไข่แดง ตับ และนมแม่ ลักษณะอาหารยังคงเป็นอาหารบดอ่อนๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายลูกน้อยย่อยได้ง่าย นั่นเอง สำหรับลูกน้อยวัย 6 เดือนขึ้นไป ร่างกายมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นจึงต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน อาหารเสริมสำหรับลูกน้อยวัย 6 เดือนขึ้นไป จึงควรเป็นอาหารที่ให้พลังงานและสารอาหารที่จำเป็นอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยเพิ่มพัฒนาการของลูกน้อย

new-news-Baby-food-site

เมนูอาหารสำหรับลูกน้อยวัย 6-7 เดือน 6-7 เดือน

ลูกน้อยวัย 6-7 เดือน มีพัฒนาการการฝึกการบดเคี้ยวมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว อาหารสำหรับลูกน้อยวัยนี้อาจเป็นแบบข้นขึ้น และแนะนำให้เพิ่มมื้ออาหารอีก 1 มื้อ เพื่อสร้างความคุ้นชินกับการรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยควรมีผลไม้สุกเป็นอาหารว่างบ้าง แต่ยังคงให้นมแม่อยู่ เมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัย 7 เดือน สามารถเพิ่มเนื้อสัตว์บดและไข่ทั้งฟองได้

ลูกน้อยวัย  8-9 เดือน แนะนำเพิ่มมื้ออาหารเป็น 2 มื้อได้ เพื่อเพิ่มความเคยชินในการรับประทานอาหารมื้อหลักของลูกน้อย แต่ยังไงก็ยังควรเพิ่มอาหารว่างเป็นผลไม้สุก เพื่อให้ร่างกายลูกน้อยได้รับวิตามิน ตามหลักโภชนาการ และหากเป็นไปได้ยังคงให้นมแม่ควบคู่ไปด้วยจะยิ่งดีมาก สำหรับเมนูอาหารของลูกน้อยวัย 10-12 เดือน คุณแม่สามารถปรับมื้ออาหารให้เป็น 3 มื้อหลักเหมือนผู้ใหญ่ได้เลยแต่ยังคงเสริมด้วยอาหารว่างและผลไม้ หากยังสามารถเสริมควบคู่ไปกับนมแม่ด้วยยิ่งเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับลูกน้อยมากขึ้น

นอกจากความสำคัญของโภชนาการด้านอาหารเสริมสำหรับลูกน้อยแล้ว สิ่งที่คุณแม่ต้องให้การเอาใจใส่คือพฤติกรรมการรับรู้และความสนใจของลูกน้อยในแต่ละช่วงด้วย เพราะลูกน้อยอาจไม่อยู่นิ่งและความสนใจสิ่งรอบข้างมากกว่าอาหารตรงหน้า ดังนั้น คุณแม่ต้องอดทนและหาวิธีปรับให้ลูกน้อยสนใจอาหารเพื่อเพิ่มทัศนคติที่ดีต่อการกินอาหารที่ดี ไม่ดื้อ และรับอาหารได้ง่ายขึ้นเมื่อโตขึ้น