การแนะนำอาหารสำหรับเด็กเล็ก

Food-for-young-children-news-site

แน่นอนที่สุดว่าอาหารสำหรับเด็กแรกเกิดจนถึง 6 เดือนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือนมแม่ที่มีคุณค่าและประโยชน์ทางโภชนาการ พร้อมทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ลูกน้อยสุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างพัฒนาการทางสมองให้เจริญเติบโตสมวัย  นมแม่นั้นมีคุณประโยชน์มากมายถือเป็นสารอาหารชั้นเลิศสำหรับลูกน้อย จากผลวิจัยต่างๆ ที่ได้รับการยืนยันจากสถาบันอนามัยโลก ก็ได้ยืนยันแล้วว่า เด็กที่กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดนั้น จะมีสุขภาพที่แข็งแรง และพัฒนาการทางสมองที่ฉลาด มี IQ สูงกว่าเด็กทั่วไป

นมแม่แต่ละช่วงเวลานั้นก็ผลิตสารอาหารสำหรับลูกน้อยให้เหมาะสมแต่ละช่วงวัย แบ่งได้เป็น 3 ระยะ เริ่มตั้งแต่วันแรก ถึง สามวัน หลังจากการคลอดบุตร น้ำนมแม่ในระยะนี้เรียกว่าหัวน้ำนมแม่จะมีความสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ทารกน้อยได้มีสุขภาพที่แข็งแรง และเซลล์สมองส่วนหน้าที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางสมอง ในระยะที่ 2 นี้  เริ่มจาก วันที่ 4 จนถึงสองสัปดาห์ แรก หลังจากการคลอดทารกน้อย หัวน้ำนมแม่ก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นน้ำนมแม่  เริ่มมีสารอาหารแร่ธาตุต่างๆมากขึ้น หลังจากสองสัปดาห์ ขึ้นไปแล้วนั้น น้ำนมแม่จะเข้าสู่ขบวนการผลิตน้ำนมอย่างสมบูรณ์แบบพร้อมทั้งสารอาหาร และวิตามินต่างๆ มากมาย และยังเป็นการเสริมสร้างสายใย ความรัก ความผูกพัน ให้กับลูกน้อยอีกด้วย

First-meal

วัย 6 เดือน อาหารมื้อแรก

ในช่วงวัยเข้าสู้วัย 6 เดือนนั้น  ทารกน้อยเริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นระบบต่างๆของร่ากาย รวมถึงระบบทางเดินอาหารพร้อมที่สามารถรับสารอาหารอื่นๆนอกจากน้ำนมแม่ได้แล้ว เพราะในวัย 6 เดือนเริ่มที่จะนั่งได้ด้วยตัวเอง และอยากที่เรียน รู้สิ่งต่างๆรอบกายมากขึ้น อยากที่จะลิ้มลองรสชาติใหม่ๆ โดยเริ่มจากผัก ใบเขียว ผลไม้ เช่น กล้วยน้ำหว้า มะละกอสุข แครอท ป่วยเล้ง ฝักทอง อควาโด้และธัญพืช ต่างๆและ อาหารจะต้องเป็นแบบเหลวเท่านั้น โดยการนำไปปั่นให้ละเอียด  ถ้าที่ให้ดีที่สุด คือ การให้ทารกน้อย  ได้ลองอาหารวันละ1อย่าง ก่อนเพื่อจะดูว่าลูกน้อยของเรานั้น แพ้อาหารไหม และค่อยๆเพิ่มจำนวน อาหารแต่ละประเภท ให้ครบถ้วน 5 หมู่ เพียงวันละ 1 มื้อเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว ค่อยปรับปริมานให้เหมาะสม หากลูกน้อยทานมากจนเกินไปก็จะไม่สบายท้อง ท้องอืดได้

วัย 7  ถึง 9 เดือน ฟันน้ำนมซี่แรก

เริ่มเป็นช่วงที่วัยที่ลูกน้อยมีการเปลี่ยนแปรงด้านร่างกาย ระบบย่อยอาหารก็เช่นกัน เราสามารที่จะเพิ่มเนื้อสัตว์ ลงในมื้ออาหารได้บ้างแล้ว เช่น เนื้อไก่ ตับหมู  เนื้อปลา สารอาหารประเภทเนื้อสัตว์นี้จะช่วยเสริมสร้างโปรตีนกล้ามเนื้อ และสำหรับการที่จะใส่ไข่ลงไปนั้นแนะนำให้ใส่เพียงไข่แดงเท่านั้นเพราะไข่ข่าวอาจทำให้แพ้อาหารได้แนะนำหลังจากขวบปีแรกขึ้นไป ในทารกน้อยวัยนี้เด็กบางคนก็เริ่มที่จะมีฟันน้ำนมทำให้มีอาการคันเหงือก ชอบที่จะกัดจะแทะ เด็กบางคนอาจจะทานอาหารได้น้อยลง และความเย็นก็ช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ โดยนำผัก อย่างเช่น แตงกวา เหรอแครอทนำมาหั่นเป็นท่อนสีเหลี่ยมผืนผ้า เอาไปแช่ช่องแข็ง และนำไปให้ลูกน้อยถือ แถมยังได้ฝึกพัฒนาการกล้ามเนื้อมือมัดเล็ก มัดใหญ่ไปพร้อมๆ กัน แต่อาหารของวัยเจ็ดเดือน ก็ยังคงเป็นแบบเหลวแต่มีความเข้มข้น และค่อยๆ ปรับไปเป็นแบบหยาบ หลังจาก 8 เดือน ขึ้นไป

Began-develop-first-step

วัย 10 ถึง 12 เดือน   เริ่มพัฒนาไปเป็นก้าวแรก

ถือเป็นช่วงวัยที่จะก้าวไปสู่การเจริญเติบโตอีกขั้นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อมือ มัดเล็ก มัดใหญ่ สามารถที่จะจับอาหารเข้าปากเองได้แล้ว เริ่มที่จะเกาะยืน อาหารก็สามารถเป็นแบบหยาบๆได้แล้ว ในช่วงวัยนี้อาหารเริ่มมีความสำคัญมากที่จะทำให้พัฒนาการด้านการเจริญเติบโต ทางส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเน้น  อาหารที่เป็นโปรตีน ผักผลไม้ที่มีชิ้นเล็กๆ วัยนี้เริ่มที่ทานได้ 3 มื้อต่อวัน ควรจัดสรรหาอาหารที่ลูกน้อยชอบและมีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ และไม่แนะนำให้ ทาน พวกขนม หรืออาหารที่มีรสจัด